วันจันทร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2560

ประวัติมวย หย่งซุน สุดยอดศิลปะการต่อสู้ของจีน

สวัสดีครับ 
กลับมาพบกันอีกแล้วสำหรับเรื่องราวดีๆเกี่ยวกับการชกมวยที่เรานำมาฝากกัน
วันนี้เราจะพาทุกคนมาพบกันศิลปะการต่อสู้ของจีนที่เรารู้จักกันก็คือ "หย่งซุน" 
จะเป็นยังไงกันบ้าง เราไปดูกันเลย

ตามตำนาน หวิงชุน (หย่งชุน) เกิดขึ้นในยุคราชวงศ์ชิง หลังจากวัดเส้าหลินถูกเพลิงเผาไหม้จนวอดวาย 5 ปรมาจารย์อาวุโส (五祖) และบรรดาลูกศิษย์ (เช่น หง ซีกวน และ ฟง ไสหยก) ต่างแยกย้ายกระจัดกระจายออกไปตามเส้นทางของตนเอง แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งอุดมการณ์ต้านแมนจูอยู่


แม่ชีอื่อซ่า (อู่เหมย) หนึ่งใน 5 ปรมาจารย์อาวุโส ได้อพยพไปเป็นกบจำศีลบนเขาซ่งซาน และที่นั่นนางได้คิดค้นศิลปะการต่อสู้แบบใหม่ขึ้น ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากการเห็นการต่อสู้ระหว่างนกกระเรียนกับงูเห่า โดยงูได้พยายามโจมตีนกกระเรียนเป็นเส้นตรง แต่นกกระเรียนได้เคลื่อนไหวตัวเองเป็นวงกลม ทำให้งูไม่อาจทำอะไรนกกระเรียนได้ (บางข้อมูลระบุว่าเป็นการต่อสู้ระหว่างนกกระเรียนกับงู)  นางได้นำเอารูปแบบการต่อสู้แบบนี้มาพัฒนาจนเป็นรูปแบบใหม่ของกังฟูซึ่งแตกต่างจากกังฟูวัดเส้าหลิน

จากนั้นหย่งชุนได้แต่งงานกับ เหลือง ปอกเชา และพยายามจะสอนวิชานี้ให้กับสามีแต่สามีไม่ยอมฝึกเพราะตัวสามีนั้นได้ฝึกฝน มวยเส้าหลินมาอย่างช่ำชองแล้วแต่หย่งชุนก็ได้แสดงฝีมือและได้เอาชนะสามีทุก ครั้ง สุดท้ายสามีจึงยอมเรียนวิชานี้กับภรรยา และจากจุดนี้จึงได้ตั้งชื่อมวยแขนงใหม่นี้ว่า หย่งชุน ตามชื่อภรรยา

รูปแบบของมวยหย่งซุน
หวิงชุน แตกต่างจากกังฟูแบบอื่นอย่างชัดเจน เป็นมวยที่ไม่ต้องใช้พละกำลังหรือความแข็งแกร่งมากนัก เหมาะสมกับสรีระของผู้หญิง ที่แรงกายอ่อนแอกว่าผู้ชาย เน้นในการป้องกันตัวและจู่โจมในระยะสั้นอย่างรวดเร็ว มีวิธีการยืนเท้าที่มั่นคง
หวิงชุน ได้ถูกถ่ายทอดต่อมาในรุ่นต่อรุ่น จนกระทั่งมาถึงรุ่นของ ฉั่น หว่าซุน และ ยิปมัน โดยเฉพาะยิปมันที่เป็นผู้ที่ทำให้หย่งชุนโด่งดังเป็นที่รู้จักในระดับสากล ด้วยความที่เป็นผู้ถ่ายทอดวิชานี้ให้แก่ บรูซ ลี ซึ่งต่อมากลายเป็นนักแสดงแอ็คชั่นที่มีชื่อเสียงระดับโลก โดยมีศิลปะการป้องกันตัวแบบที่เจ้าตัวคิดค้นขึ้นมา ที่เรียกว่า "จีทคุนโด้" เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งบรูซ ลี ได้ยอมรับว่าพื้นฐานของจีทคุนโด้นำมาจากหวิงชุนนี่เอง


เข้ามาในประเทศไทย
หวิงชุนในประเทศไทย เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1988 ซึ่งชาวไทยคนแรกที่นำมาฝึกสอน คือ อาจารย์ อนันต์ ทินะพงศ์ ที่เรียนวิชานี้ที่สหรัฐอเมริกา จาก จู เสาไหล่ หรือ โรเบิร์ต ชู ผู้ซึ่งเป็นศิษย์ของ เจวียง ฮอกกิ่น ผู้ซึ่งเป็นศิษย์โดยตรงของยิปมัน โดยเปิดสอนเริ่มแรกอย่างไม่คิดค่าเล่าเรียนที่สวนลุมพินี


ท่าที่โด่งดัง
หมัดหนึ่งหุนเป็นหนึ่งในท่าต่อยที่มีชื่อเสียงที่สุดของบรู๊ซ ลีโดยสามารถชกคู่ต่อสู้กระเด็นไปได้หลายเมตร โดยที่ไม่ต้องง้างหมัดชกเลย ซึ่งเชื่อว่ากระบวนท่านี้ถูกพัฒนามาเป็นพันๆปีตั้งแต่มวยเส้าหลินจนถึงมวยหวิงชุน หรือกังฟูทางตอนใต้ของจีนอื่นๆ

ขอบคุณข้อมูลจาก www.wikipedia.com

เป็นยังไงบ้างครับสำหรับเรื่องราวที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ หวังว่าคงชอบกันนะครับ
ครั้งหน้าเราจะนำเรื่องอะไรมาอีก อย่าลืมคอยติดตามชมกันนะครับ
รับชมหรือติดตามแอดมินได้ที่ www.sjgadget.com 

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ประวัติความเป็นมาของมวยไทย


สวัสดีครับ 
วันนี้เราก็กลับมาพบกันอีกครั้งกับเรื่องราวสาระดีๆในเรื่องของมวยไทยนั่นเอง 
ซึ่งมวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ที่เป็นเอกลักษณ์ อยู่คู่ชาติไทยมาเป็นเวลานาน ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดกันถึง
ประวัติความเป็นมาของมวยไทย จะเป็นยังไงกันบ้างเราไปดูกันเลยครับ



มวยไทยเริ่มขึ้นในสมัยไม่ปรากฏ และไม่มีหนังสือเล่มใดเขียนไว้ว่าจะเกิดขึ้นในสมัยใด
แต่เท่าที่ได้ปรากฏนั้นมวยไทยได้เกิดขึ้นมานานแล้วและอาจเกิดขึ้นมาพร้อมๆกับชาติไทย
เพราะมวยไทยนั้นเป็นศิลปประจำชาติไทยเราจริงๆยากที่ชาติอื่นจะลอกเลียนแบบได้หลายคนกล่าวว่า
มวยไทย มีความคล้ายศิลปะการต่อสู้ของหลายประเทศ ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เช่น ลาว และเขมร ก็มีมวยทำนองเดียวกัน ส่วนในพม่ามีมายที่เรียกว่า บานโดะ
ส่วนในเวียดนามมีศิลปะการต่อสู้  ด้วยมือเปล่าที่เรียกว่า เวียด หวู ด๋าว ซึ่งค่อนข้างคล้ายไปทางคาราเต้ 

มวยไทยในสมัยก่อนเท่าที่ทราบจะมีการฝึกฝนอยู่ในบรรดาหมู่ทหาร เพราะในสมัยก่อนไทยเราได้มี
การรบพุ่งและสู้รบกันกับประเทศเพื่อนบ้านบ่อยครั้ง การสู้รบในสมัยนั้นยังไม่มีปืนจะสู้กันแต่ดาบสองมือ
และมือเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้การรบพุ่งก็มีการรบประชิดตัว คนไทยเห็นว่าในสมัยนั้นการรบด้วยดาบเป็นการรบ
พุ่งที่ประชิดตัวมากเกินไปบางครั้งคู่ต่อสู้อาจเข้ามาฟันเราได้ง่าย คนไทยจึงได้ฝึกหัดการถีบและเตะคู่ต่อสู้
เอาไว้เพื่อคู่ต่อสู้จะได้เสียหลักแล้วเราจะได้เลือกฟันง่ายขึ้นทำให้คู่ต่อสู้แพ้ได้
ต่อมาเมื่อในหมู่ทหารได้มีการฝึกถีบเตะแล้วก็เกิดมีผู้คิดว่าทำอย่างไรจึงจะใช้การถีบเตะนั้น
มาเป็นศิลปสำหรับการต่อสู้ด้วยมือได้ จึงต้องให้มีผู้ที่จะคิดจะฝึกหัดการต่อสู้ป้องกันตัวสำหรับการใช้
แสดงเวลามีงานเทศกาลต่างๆไว้อวดชาวบ้านและเป็นของแปลกสำหรับชาวบ้าน เมื่อเป็นเช่นนี้นานเข้า
ชาวบ้านหรือคนไทยได้เห็นการถีบเตะแพร่หลายและบ่อยครั้งเข้า จึงทำให้ชาวบ้านมีการฝึกหัดมวยไทย
กันมากจนถึงกับตั้งเป็นสำนักฝึกกันมากมาย แต่สำหรับที่ฝึกมวยไทยนั้นก็ต้องเป็นสำนักดาบที่มีชื่อดีมา
ก่อนและมีอาจารย์ดีไว้ฝึกสอน


ดังนั้นมวยไทยในสมัยนั้นจึงฝึกเพื่อความหมาย ๒ อย่างคือ
๑. เพื่อไว้สำหรับสู้รบกับข้าศึก
๒. เพื่อไว้ต่อสู้ป้องกันตัว
ในสมัยนั้นใครมีเพลงดาบดีและเก่งกาจทางรบพุ่งนั้นจะต้องเก่งทางมวยไทยด้วย
เพราะเวลารบพุ่งนั้นต้องอาศัยมวยไทยเข้าช่วย ดังนั้นวิชามวยไทยในสมัยนั้นจึงมุ่งหมายที่
จะฝึกฝนเพลงดาบและวิชามวยไทยไปพร้อมๆกันเพื่อที่จะรับใช้ประเทศชาติด้วยการเป็นทหารได้
เป็นอย่างดีแต่เมื่อพ้นจากหน้าสงครามก็จะมีการชกมวยกันเพื่อความสนุกสนาน และมีการพนันขันต่อกัน
ระหว่างนักมวยที่เก่งจากหมู่บ้านหนึ่งกับนักมวยที่เก่งจากอีกหมู่บ้านหนึ่งมาชกกันในหน้าที่มีงานเทศกาล
หรือเกิดมีการท้าทายกันขึ้นและมีการพนันขันต่อ มวยในสมัยนั้นชกกันด้วยหมัดเปล่าๆยังไม่มีการคาดเชือก
เช่น สมัยอยุธยาตอนต้น ในสมัยนั้นคนไทยที่ทำชื่อเสียงให้กับประเทศในวิชามวยไทยมากที่สุดคือ
นายขนมต้ม ซึ่งได้ใช้วิชามวยไทยต่อสู้พม่าถึง ๑๐ คนและพม่าก็ได้แพ้นายขนมต้มหมดทุกคน
จนถึงกับกษัตริย์พม่าพูดว่า


"คนไทยถึงแม้ว่าจะไม่มีดาบ แม้แต่มือเปล่าก็ยังมีพิษสงรอบตัว"


นายขนมต้มจึงเปรียบเสมือนผู้เป็นบิดาของวิชามวยไทย
เพราะทำให้คนไทยมีชื่อเสียงเกี่ยวกับวิชามวยไทยเป็นอันมากในสมัยนั้น และชื่อเสียงก็ได้เลื่องลือมาจนถึงกับปัจจุบันนี้

ในสมัยต่อมามวยไทยก็ยังฝึกฝนคู่กับการฝึกเพลงดาบอยู่และยังฝึกและใช้เพื่อการทำสงครามและฝึกฝน
เพื่อการต่อสู้ป้องกันตัว
บางทีก็ฝึกเพื่อชกในงานเทศกาลต่างๆ ในสมัยอยุธยาตอนปลายพระมหากษัตริย์
ของไทยบางพระองค์มีฝีมือในทางมวยไทยอยู่มาก เช่น พระเจ้าเสือหรือขุนหลวงสรศักดิ์
ซึ่งได้หนีออกจากพระราชวังไปชกมวยกับชาวบ้านและชกชนะด้วย ต่อมาประชาชนทราบและเห็นว่า
พระองค์ก็เป็นผู้มีฝีมือในวิชามวยไทยอยู่ในขั้นดีเยี่ยม ในสมัยต่อมา ผู้ที่มีฝีมือในทางมวยไทยก็มีมาก
เช่น พระเจ้าตากสินวิชามวยไทยได้ยั่งยืนมาจนถึงสมัยปัจจุบัน และในสมัยอยุธยาตอนปลายนี้
มวยไทยได้ชกกันด้วยการคาดเชือกคือใช้เชือกเป็นผ้าพันมือ บางครั้งการชกก็อาจถึงตายเพราะเชือก
ที่คาดมือนั้นบางครั้งก็ใช้น้ำมันชุบเศษแก้วละเอียดชกถูกตรงไหนก็เป็นแผลตรงนั้น จะเห็นได้ว่ามวยไทย
ในสมัยนั้นมีอันตรายเป็นอันมาก
ต่อมาในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยามวยไทยก็มีการฝึกตามสำนักฝึกต่างๆและมีการฝึกกันอย่างกว้างขวาง
จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ก็มีเวทีมวยที่จัดให้มีการแข่งขันกันอย่างสนุกสนาน เช่น
เวทีสวนเจ้าเชษฐและเวทีสวนกุหลาบ ซึ่งการชกมวยในสมัยนี้ก็ยังมีการคาดเชือกกันอยู่
จนตอนหลังนวมได้เข้ามาแพร่หลายในประเทศไทย การชกกันในสมัยหลังๆจึงได้สวมนวมชก
แต่การชกกันก็ยังเหมือนเดิมคือยังใช้การ ถีบ ชก ศอกและเข่า ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับเรีื่องราวที่เรานำมาในวันนี้ ครั้งหน้าเราจะนำเรื่องอะไรมาเสนออย่าลืมติดตามกันด้วยนะครับ
ติดตามเราได้ที่ www.sjgadget.com

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก http://www.thenpoor.ws/thaiboxing/

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

เรื่องที่ควรรู้ วิธีพันข้อมือนักมวยที่ถูกต้อง พันอย่างไรไม่ให้เจ็บมือ

  วันนี้เราขอเสนอเทคนิคการพันผ้าพันมือที่ถูกวิธีให้กับทุกคนได้ทราบ เรื่องง่ายๆที่เราควรรู้นะครับ

        เรียกได้ว่ากีฬาชกมวยกับคนไทย ถือเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมาอย่างยาวนาน จนปัจจุบันกลายเป็นกีฬาที่ใครหลายคนเลือกฝึกเพื่อเสริมความแข็งแรงให้ตัวเอง ใช้ป้องกันตัว รวมถึงลดน้ำหนักด้วย แต่ก่อนที่จะชกมวยนั้น การเตรียมตัวให้พร้อมถือเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งรวมไปถึงการพันข้อมือก่อนใส่นวมด้วย ว่าแล้วจึงหยิบวิธีพันข้อมือที่ถูกต้องมาแนะนำกันครับ

1. ทำไมนักมวยต้องพันข้อมือ ?

    เหตุผลที่นักมวยทั้งมือใหม่และมืออาชีพต้องพันข้อมือนั้น ก็เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นกับจากการชกมวย ซึ่งถือว่ามือเป็นอวัยวะที่สำคัญสุด ๆ ของกีฬาประเภทนี้ ที่อาศัยการชกเป็นหลักนั่นเอง โดยการพันมือจะช่วยป้องกันทั้งข้อต่อและกระดูกชิ้นเล็กชิ้นน้อย ซึ่งเป็นจุดที่แตกหักได้ง่าย หากมีการชกซ้ำไปซ้ำมา รวมถึงซัพพอร์ตข้อมือ นิ้ว และสันหมัดด้วย 

2. ประเภทของผ้าพันข้อมือ


 ผ้าพันข้อมือแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
วิธีพันข้อมือนักมวย

          2.1 ผ้าพันมือแบบคอตตอน เป็นผ้าพันมือที่นิยมใช้ในการฝึกซ้อม มีความยืดหยุ่นสูง มาพร้อมกับตีนตุ๊กแก ช่วยให้ไม่หลุดง่าย

วิธีพันข้อมือนักมวย

          2.2 ผ้าพันมือแบบเม็กซิกัน ผ้าประเภทนี้จะดูคล้ายกับแบบแรก แต่มีความแตกต่างกันตรงวัสดุที่ใช้ในการผลิต ซึ่งผ้าพันมือแบบเม็กซิกันจะใช้ผ้าทอผสมกับเส้นใยอีลาสติก ที่ให้ความยืดหยุ่นพอสมควร แต่น้อยกว่าแบบแรก

วิธีพันข้อมือนักมวย
          2.3 ผ้าก๊อซ หรือ ผ้าพันแผลที่หลายคนรู้จักกันดี เป็นผ้าที่มักใช้พันข้อมือร่วมกับเทปกาว เพื่อลงแข่งขันชกมวยแบบจริงจังมากกว่าการฝึกซ้อม ทั้งยังเป็นแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งด้วย 



วิธีพันข้อมือนักมวยที่ถูกต้อง

วิธีพันข้อมือนักมวย

          1. เลือกใช้ผ้าพันมือแบบมีห่วงสำหรับสอดนิ้วโป้งและมีตีนตุ๊กแก ซึ่งจะช่วยให้พันข้อมือได้สะดวกยิ่งขึ้น

วิธีพันข้อมือนักมวย

          2. เริ่มจากนำนิ้วโป้งสอดเข้าไปในห่วงของผ้าพันมือให้เรียบร้อย 

วิธีพันข้อมือนักมวย

          3. จากนั้นให้พันวนรอบด้านหลังมือ พร้อมดึงผ้าให้ตึง

วิธีพันข้อมือนักมวย

          4. ต่อมาให้พันบริเวณข้อมือสัก 3-4 รอบ ขึ้นอยู่กับความยาวของผ้าพันมือที่เลือกใช้ เพราะยิ่งยาวก็ยิ่งพันได้หลายรอบ ซึ่งช่วยซัพพอร์ตข้อมือได้ดีกว่า

วิธีพันข้อมือนักมวย

          5. แล้วให้ขยับขึ้นมาพันรอบฝ่ามือสัก 3-4 รอบเช่นกัน ซึ่งในการพันแต่ละรอบ ควรดึงผ้าให้ตึงอยู่เสมอ

วิธีพันข้อมือนักมวย

          6. จากนั้นให้พันผ้าเป็นรูปตัว X โดยพันไขว้ขึ้นเข้าไปในช่องระหว่างนิ้วก้อยและนิ้วนาง แล้วพันกลับขึ้นมาทางช่องระหว่างนิ้วชี้และนิ้วโป้ง

วิธีพันข้อมือนักมวย

          7. พันเป็นรูปตัว X เข้าไปในช่องระหว่างนิ้วที่เหลือ ซึ่งก็คือระหว่างนิ้วนางและนิ้วกลาง กับระหว่างนิ้วกลางและนิ้วชี้

วิธีพันข้อมือนักมวย

          8. ดึงผ้าให้ตึง แล้วพันผ้ารอบนิ้วโป้ง 1 รอบ 

วิธีพันข้อมือนักมวย

          9. ต่อมาให้พลิกฝ่ามือขึ้นเพื่อพันผ้าสำหรับล็อกนิ้วโป้ง โดยการพันที่ข้อมือและนิ้วโป้งตามภาพ

วิธีพันข้อมือนักมวย

          10. จากนั้นก็พันผ้ารอบฝ่ามืออีก 3-4 รอบ พันให้แน่นเข้าไว้ ส่วนผ้าที่เหลือให้ใช้พันข้อมือสลับกับฝ่ามือจนสุด แล้วปิดทับด้วยตีนตุ๊กแก ก็เป็นอันว่าเสร็จ

หลังจากพันข้อมือเสร็จเรียบร้อยแล้ว

วิธีพันข้อมือนักมวย

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับการพันมือ ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ ลองไปทำกันดูนะครับ เพื่อความปลอดภัยของมืออันเป็นที่รักของกีฬาชกมวย

หากชอบบทความนี้อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ให้เราด้วยนะครับ
ติดตามเราได้ที่ www.sjgadget.com